ข่าวกีฬา ดอร์ทมุนด์ มีวิธีเจรจาอย่างไร จึงได้ดาวรุ่งฝีเท้าดีร่วมทีมไม่ขาดสาย?
ข่าวกีฬา ดอร์ทมุนด์ เออร์ลิง ฮาลันด์ ถูกสโมสรระดับท็อปมากกว่า 10 สโมสรรุมแย่งตัว แต่สุดท้ายเขาเลือก ดอร์ทมุนด์…
2 ปีก่อน จาดอน ซานโช่ ถูกกุนซือที่ดีที่สุดในโลกอย่าง เป๊ป กวาร์ดิโอล่า ขอร้องให้ต่อสัญญากับ แมนฯ ซิตี้ แต่เขาก็ปฎิเสธ และเลือก ดอร์ทมุนด์ เหมือนกันกับ ฮาลันด์
นี่คือตัวอย่างที่ยกมาแค่ 2 เคสเท่านั้นที่ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ทีมดังแห่ง บุนเดสลีกา เยอรมัน สามารถปิดดีลกับดาวรุ่งฝีเท้าดีได้ในราคาถูกแสนถูก … เมื่อถึงเวลาพวกเขาจะขายเพื่อทำเงิน และซื้อนักเตะดาวรุ่งด้วยวิธีเดิมเข้ามาใหม่ วนไปวนมาอย่างนี้
อะไรที่ทำให้ระบบการซื้อ-ขายนักเตะของเสือเหลืองเฉียบขาด ปิดเกมไว เซอร์ไพรส์ได้เสมอ … ติดตามได้ที่นี่
ไม่เจ็บ… ไม่รู้สึก
ว่ากันว่าบทเรียนที่ดีที่สุด ไม่ใช่การเรียนรู้จากหลักสูตรใดหรืออาจารย์คนไหน หากแต่คือการที่เราได้รู้จักเจ็บด้วยตัวเอง… และสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการเจ็บก็คือ เราจะจำมันอย่างแม่นยำ และรู้ว่าต้องทำอย่างไรที่จะไม่ให้เรื่องราวที่ผิดพลาดแบบนี้เกิดขึ้นอีกครั้งกับชีวิต
โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ คือหนึ่งในสโมสรที่ได้รับบทเรียนนั้น เมื่อวันหนึ่งพวกเขากลายเป็นนกน้อยที่หวังจะสร้างรังที่เทียบเท่ากับพญาอินทรี … พวกเขาแหงนหน้าขึ้นมองทีมที่อยู่เหนือขึ้นไปอย่าง บาเยิร์น มิวนิค มหาอำนาจของแท้และดั้งเดิมแห่งวงการลูกหนังแดนอินทรีเหล็ก และเชื่อว่าสามารถก้าวข้ามจุดนั้นได้ด้วยการ “ทุ่มทุน” สำหรับนักเตะระดับคุณภาพที่สามารถใช้งานได้ทันที
โทมัส โรซิคกี้ 15 ล้านปอนด์, เอวานิลสัน 15 ล้านปอนด์ รวมถึงเหล่าแข้งอย่าง แยน โคลเลอร์, เอเวอร์ตัน, ซันเดย์ โอลิเซห์, เฟร็ดดี้ โบบิช และอีกมากมาย คือเหล่านักเตะที่ ดอร์ทมุนด์ ต้องการเพิ่มศักยภาพให้ทีมโดยด่วนที่สุดในช่วงยุค 2000’s
หากจะพูดให้ถูกคือพวกเขาคิดถูกแค่ครึ่งเดียว พวกเขาสามารถเอาชนะ บาเยิร์น ได้จริงด้วยการคว้าแชมป์ บุนเดสลีกา ในฤดูกาล 2001-02 ทว่าพวกเขาลืมคิดถึง “ทางยาว” นั่นคือจะเอาอย่างไรต่อหลังจากนั้น และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการตกหลุมพรางของทีมจอมทุ่มหน้าใหม่ เพราะหลังจากที่คว้าแชมป์ครั้งนั้นได้ พวกเขาไม่สามารถยืนระยะได้เหมือนกับที่ บาเยิร์น ทำ ดังนั้นแชมป์บุนเดสลีกาของ ดอร์ทมุนด์ ครั้งนั้น จึงเป็นเหมือนอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ถึงแม้จะทำให้ได้กินของอร่อยในระยะเวลาที่รวดเร็ว แต่ปลายทางคือจุดเริ่มต้นของโรคร้ายที่มาจากอาหารขยะเหล่านั้น
“เราเกือบจะล้มละลายแล้วจริงๆ ในเวลานั้น มันใกล้เคียงกับคำนั้นมากๆ” มิชาเอล ซอร์ก ผอ.กีฬาของดอร์ทมุนด์ ที่ครั้งหนึ่งคือตำนานนักเตะของทีมว่าไว้ในช่วงปี 2004
ณ เวลานั้นมูลค่าหุ้นของ ดอร์ทมุนด์ ตกลงถึงร้อยละ 80 จากผลงานที่ย่ำแย่และผลประกอบการที่เสียมากกว่าได้ จนทำให้ผู้ถือหุ้นกว่า 400 คนต้องจัดประชุมฉุกเฉินเพื่อหามาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ยุทธวิธีแรกคือ นักเตะดอร์ทมุนด์ในตอนนั้นต้องยอมลดค่าเหนือยลงมาร้อยละ 20 จากที่เคยได้ นอกจากนี้เสือเหลือง ต้องขายชื่อสนาม เวสต์ฟาเลน สตาดิโอน เปลี่ยนเป็น ซิกนัล อิดูน่า พาร์ค ตามชื่อบริษัทประกันท้องถิ่นที่เข้ามาสนับสนุนการเงินของสโมสร…
ขอบคุณข่าว : https://www.sanook.com/
สนใจสมัคร ติดต่อ : https://www.sportsky88.com/